ประชาสัมพันธ์


ขอความกรุณาสมาชิกทุกท่านได้สร้างข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา และใช้ข้อมูลที่ถูกต้องตามลิขสิทธิ์ เท่านั้น เพื่อประโยชน์ของทางราชการและตัวสมาชิกเอง
ทางผู้ดูแลระบบขอสงวนสิทธิ์ในการลบข้อมูล ภาพ หรือไฟล์งานของท่าน หากพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่เหมาะสม ขอบคุณครับ


การคัดเลือกโคเข้าขุน


การคัดเลือกโคเข้าขุน

          
โคขุนที่ดีควรมีคุณสมบัติดังนี้


 

-

หาซื้อได้ง่าย

และราคาถูก

 

-

เลี้ยงง่าย

ทนโรค ทนเห็บ โตเร็ว
ประสิทธิภาพการใช้อาหารสูง


สามารถเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อได้ดี
คุณภาพซากดี



คือมีเนื้อมาก

 

-

โครงสร้างใหญ่

กระดูกใหญ่โดยดูที่กระดูกแข้ง

 

-

หน้าอกกว้าง

โดยดูจากระยะห่างระหว่างโคนขาหน้า
โคนขาหน้ามีกล้ามเนื้อนูนเด่น


 

-

ไหล่กว้าง

แนวหลังตรง ท้ายไม่ตก
สะโพกกว้างและใหญ่


เอวลึกและใหญ่
ซึ่งแสดงว่ากระเพาะใหญ่กินอาหารได้มาก


 

-

ขาสั้นและแข็งแรงสมส่วนกับลำตัว


ขาตรงตั้งฉากกับพื้นและอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกันพอสมควร

 

-

กระดูกเชิงกรานและปลายกระดูกก้นกบด้านซ้ายและขวาควรห่างกันมาก


ซึ่งแสดงว่าโคมีสะโพกหน้าและยาว

 

-

ลำตัวยาว

ไม่ลึกมากนักเพราะส่วนล่างของลำตัวจะมีเนื้อน้อย



 

-

หน้าสั้น

ดวงตานูนแจ่มใส รูจมูกกว้าง ปากกว้าง


และใหญ่

 


หลักในการพิจารณาจัดหาโคเข้าขุน


          

1.



พันธุ์โค



ในการเลือกซื้อโคเข้ามาขุนควรจะพิจารณาเลือกซื้อพันธุ์โคที่สอดคล้องกับความ


ต้องการของตลาดโคขุนด้วย


เช่น

โคพันธุ์เมืองตลาดชั้นสูงไม่ต้องการเพราะ


ซากเล็ก ไขมันแทรกน้อย


หน้าตัดเนื้อสันเล็ก


พันธุ์โคที่เหมาะสมในการนำมาขุนควรเป็นโคลูกผสมที่มีสายเลือดโคยุโรปอยู่ใน


ช่วง
50-62.5%
เพราะพบว่าโคที่มีสายเลือดของโคยุโรปอยู่สูงกว่านี้


จะมีปัญหาในการเลี้ยงในภาพภูมิอากาศของประเทศไทย


พันธุ์โคที่เหมาะสมต่อการขุน


ได้แก่ โคลูกผสมบราห์มัน
X
พันธุ์พื้นเมือง
X
พันธุ์ชาร์โรเล่ส์
,
บราห์มัน
X
ชาร์โรเล่ส์
,
บราห์มัน
X
พื้นเมือง
,
บราห์มัน
X
ลิมูซีน
,
ซิมเมนทอล
,
เดร้าท์มาสเตอร์
,
บราห์มัน
X
แองกัส (แบงส์กัส)


เป็นต้น

          

2.



เพศโค



ลูกโคที่จะนำมาขุนควรเป็นเพศผู้เพราะการเจริญเติบโตและเปอร์เซนต์ซากหลัง


ชำแหละจะสูงกว่าเพศเมีย


อีกทั้งราคาก่อนขุนก็ถูกกว่าอีกด้วย


ส่วนเหตุผลที่จะต้องตอนลูกโคเพศผู้ก่อนหรือไม่นั้น


ขึ้นอยู่กับวิธีการเลี้ยง


กล่าวคือ หากคอกขุนเป็นคอกขังเดี่ยวก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตอน


มีการศึกษาพบว่า

โครุ่นเพศผู้ไม่ตอน
จะมีการเจริญเติบโตสูงกว่าโครุ่นเพศผู้ตอน


และมีประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงกว่า
แต่โคตอนจะมีไขมันแทรกดีกว่า


หากตลาดมีความต้องการและให้ราคาดีก็ควรจะตอน


ในกรณีที่ต้องเลี้ยงโคขุนในคอกรวมกันและขนาดของโคมีความแตกต่างกัน


การตอนจะช่วยลดความคึกคนองของโคที่ใหญ่กว่า


ลดการรังแกตัวอื่นลงไปได้

          

3.



อายุของโค



มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาขุน


กล่าวคือ
ถ้าขุนโคอายุน้อยจะต้องใช้เวลามากกว่าการขุนโคใหญ่


เช่น โคหย่านม ใช้เวลาขุนประมาณ
10
เดือน

แต่ถ้าเป็นโคอายุ
1
ปี ใช้เวลาประมาณ
8
เดือน โคอายุ
1.5
ปี ใช้เวลาขุนประมาณ
6
เดือน โคอายุ
2
ปี ใช้เวลาขุนประมาณ
4
เดือน และโคโตเต็มวัยใช้เวลาขุนประมาณ
3
เดือน ดังนั้น
ถ้าตลาดระยะสั้นดีหรือต้องการผลตอบแทนเร็วก็ควรขุนโคใหญ่


แต่ถ้าตลาดระยะยาวดีหรือตลาดยังไม่แน่นอนควรขุนโคเล็ก


เพื่อยืดเวลาและโคจะเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ


ส่วนใหญ่จะประวิงเวลาไม่ได้เพราะระยะหลังๆ


ของการขุนโคใหญ่จะโตช้ามาก

            

ถ้าผู้เลี้ยงมีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคขุนน้อยควรจะขุนโคใหญ่


เพรามีปัญหาในการเลี้ยงดูน้อยกว่าโคเล็ก


แต่ถ้าผลิตเนื้อโคขุนส่งตลาดชั้นสูง
โคที่ขุนเสร็จแล้วไม่ควรมีอายุเกิน

3
ปี และถ้าผลิต "โคมัน" ส่งตลาดพื้นบ้าน


ควรจะเลือกโคเต็มวัยมาขุนเพื่อจะได้มีไขมันมากและสีเหลือง

 


แหล่งที่จะหาซื้อโคมาขุน


          
โคที่จะนำมาขุน

อาจได้จากโคในคอกของผู้เลี้ยงเอง
ซึ่งเลี้ยงแม่ผลิตลูกอยู่แล้ว


หรือซื้อลูกโคจากผู้ผลิตลูกโคขาย
ในบางท้องที่ซึ่งมีตลาดนัดโค-กระบือ


ผู้เลี้ยงโคขุนอาจหาซื้อได้จากตลาดนักต่างๆ


การซื้อขายโคมีชีวิตส่วนใหญ่ทำการขายหลังฤดูเก็บเกี่ยว

          

สามารถสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับตลาดนัดค้าสัตว์ได้จากสำนักงาน


ปศุสัตว์จังหวัดในท้องถิ่น

Powered by Drupal - Design by artinet